กระดูกที่หนาแน่น มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม?

TAG:

กระดูกที่หนาแน่น มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม?

มะเร็งเต้านม
            เมื่อไม่นานมานี้มีบทความบางชิ้นได้กล่าวว่า ผู้หญิงที่มีกระดูกหนาแน่นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป เนื่องจากกระดูกที่หนาแน่นทำให้เกิดมะเร็งเต้านมนั่นเอง บทความนี้ได้สร้างความสับสนและความตกตะลึงให้กับคนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงที่คิดว่าการมีกระดูกที่หนาแน่นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พวกเธอมีสุขภาพที่แข็งแรง

การรักษามะเร็งเต้านมอาจทำให้ประสาทรับกลิ่นและรสเปลี่ยนแปลง

TAG: ,

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยยาหรือสารเคมีอาจทำให้ประสาทรับกลิ่นและรสเปลี่ยนแปลง

ผู้ป่วยจำนวนมากรายงานว่า ประสาทในการรับรู้รสและกลิ่นของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป การรักษามะเร็งเต้านมด้วยการใช้ยาหรือสารเคมี อาจทำให้ประสาทรับรู้รสและกลิ่นของคุณเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงนี้คุณอาจรู้สึกว่าอาหารมีรสขมและเหม็นหืนผิดปกติ และคุณอาจไม่ชอบอาการที่คุณเคยชอบบางชนิด ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการรักษามะเร็งเต้านมด้วยยาหรือสารเคมี จะเปลี่ยนประสาทรับร้านและกลิ่นของคุณอาจต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์หรือหลายเดือนในการกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตามในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงให้คุณปฏิบัติต่อไปนี้

อาการแพ้น้ำตาลแล็กโทส จากการรักษามะเร็งเต้านม

TAG:

การเข้ารับการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการใช้ยาหรือสารเคมีอาจทำให้คุณมีอาการแพ้น้ำตาลแล็กโทสชั่วคราว ร่างกายของคุณจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลในนมได้ เมื่อคุณมีอาการดังกล่าว คุณจะท้องเสียเกิดแก๊สขึ้นในกระเพาะอาหาร และมีอาการเป็นตะคริว เมื่อคุณดื่มนมหรือกินอาหารที่มีส่วนผสมของนมเข้าไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าคุณจะมีอาการแพ้ดังกล่าว แต่ก็ยังสามารถกินผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมบางชนิดได้ เช่น คัสตาร์ด คอตเตจซีส หรือโยเกิร์ตที่มีปริมาณของน้ำตาลแล็กโทสน้อยกว่านม

สัญญาณอันตรายที่แสดงถึงมะเร็งเต้านมที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้

TAG:

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุใด หากพบว่าเต้านมของคุณมีสัญญาณอันตรายของมะเร็งเต้านมดังต่อไปนี้ ให้รีบปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

            - พบก้อนเนื้อที่มีลักษณะขรุขระและแข็งในเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง หรือบริเวณรักแร้ หากลักษณะดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงมีรอบเดือน และยังคงอยู่เช่นนั้นแม้ว่าจะเลยช่วงเวลานั้นมาแล้วในผู้หญิงที่อายุยังน้อย และหากลักษณะเช่นนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เคยเป็นมาก่อนกับเต้านมเพียงข้างเดียวในผู้หญิงที่มีอายุมากแล้ว

วิธีตรวจเต้านมเพื่อหาโรคมะเร็งเต้านม ด้วยตัวเองอย่างง่าย

TAG:

วิธีตรวจหาโรคมะเร็งเต้านม ด้วยตัวเองอย่างง่าย

การตรวจหามะเร็งเต้านม
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้หญิงตรวจเต้านมอย่างน้อยเดือนละครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมคือ 5-7 วันหลังมีประจำเดือนวันสุดท้าย เนื่องจากช่วงนี้เต้านมจะอ่อนนุ่ม แต่เพื่อความแน่ใจว่า ปราศจากสัญญาณอันตรายของมะเร็งเต้านมอย่างแน่นอน คุณอาจให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจเต้านมให้ก็ได้ โดยควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และควรตรวจทุก ๆ 3 ปี ส่วนผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรให้แพทย์ตรวจเต้านมทุก ๆ ปี แต่เพื่อความปลอดภัยที่คุณสามารถทำให้กับตัวเองได้ การตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรละเลยโดยให้คุณปฏิบัติดังต่อไปนี้

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ตอนที่ 5 (จบ)

TAG:

โรคมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงสูงอายุเท่านั้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม

จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า เพศหญิงอายุระหว่าง 0 (แรกเกิด) – 39 ปี 1 ใน 231 คน จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคน้อยกว่าร้อย 0.5 เพศหญิงอายุระหว่าง 40-59 ปี 1 ใน 25 คน จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้อยละ 4 ในขณะที่เพศหญิงอายุระหว่าง 60-79 ปี 1 ใน 15 คน จะเป็นมะเร็งเต้านม หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกือบร้อยละ  7 และเช่นเดียวกัน หากคุณอายุยืน โอกาสที่คุณจะเป็นมะเร็งเต้านมก็จะยิ่งมีมากขึ้น โดยพบว่าผู้หญิง 1 ใน 7 ที่มีอายุระหว่าง 80-90 ปี จะเป็นโรคหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ที่ร้อยละ 14.3 การศึกษาชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า มะเร็งเต้านมสามารถเกิดได้กับผู้หญิงทุกวัย และอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ตอนที่ 4

TAG:

การบำบัดด้วยการฉายรังสีจะทำให้ผิวหนังมีกัมมันตภาพรังสีสะสมอยู่

            หากคุณบำบัดด้วยการฉายรังสีภายนอก คุณจะไม่มีกัมมันตภาพรังสีสะสมอยู่ในร่างกายแต่อย่างใด รังสีที่คุณได้รับจะเข้าสู่เนื้อเยื่อของคุณในทันทีทันใด โดยจะไม่มีรังสีใดค้างอยู่ที่ผิวหนังของคุณเลยแม้แต่น้อย เมื่อคุณกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ คุณจึงมั่นใจได้ว่า เพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกในบ้านของคุณจะไม่ได้รับกัมมันตภาพรังสีจากตัวคุณอย่างแน่นอน แต่ในกรณีที่คุณได้รับการบำบัดด้วยการใช้รังสีภายใน เมื่อการบำบัดได้สิ้นสุดลง ร่างกายของคุณจะสามารถแผ่กัมมันตภาพรังสีออกมา เนื่องจากวัตถุที่เป็นกัมมันตภาพรังสียังคงอยู่ภายในตัวคุณ เมื่อคุณได้รับการบำบัดด้วยวิธีนี้ คุณจะถูกแยกให้อยู่แต่ในห้องส่วนตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ตอนที่ 3

TAG:

หากเป็นมะเร็งเต้านม จะต้องเสียชีวิตในที่สุด

            จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม ไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นว่าเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายจากเต้านมไปยังเซลล์หรืออวัยวะข้างเคียงแต่อย่างใด และยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเหล่านี้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 5 ปี แต่โดยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่นานกว่านั้น และมีผู้ป่วยอีกจำนวนไม่น้อยที่มีอายุยืน แม้แต่ผู้ป่วยที่เชื้อมะเร็งมีการแพร่ไปสู่เซลล์หรืออวัยวะข้างเคียง  ก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกเป็นเวลานาน และที่น่ายินดีไปกว่านั้นคือ วิทยาการทางการแพทย์ในการต่อสู้กับมะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วยจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ตอนที่ 2

TAG:

ผู้หญิงที่มีอายุน้อยจะมีอาการคลื่นไส้จากการรักษามะเร็งเต้านมด้วยยาหรือสารเคมีมากกว่าผู้หญิงที่มีอายุมาก

            เมื่อรักษามะเร็งด้วยยาหรือสารเคมี ผู้หญิงอายุน้อยจะมีอาการคลื่นไส้มากกว่าผู้หญิงอายุมาก จากการศึกษาพบว่ายิ่งคุณมีอายุน้อยเท่าใด แนวโน้มที่คุณจะมีอาการคลื่นไส้จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากสมองของผู้หญิงที่อายุยังน้อยจะมีสมองส่วนของความรู้สึกคลื่นไส้ขนาดใหญ่กว่าผู้หญิงที่มีอายุมาก และยิ่งคุณมีอายุมากเท่าใด สมองสั่งการส่วนนั้นจะยิ่งลดขนาดลงเรื่อย ๆ

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ตอนที่ 1

TAG:

ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองก็เพียงพอแล้ว

การตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน คือวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหามะเร็งเต้านม การตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือนเป็นหนึ่งวิธีที่ดีในการตรวจหาความผิดปกติหรือสัญญาณอันตรายที่เกิดจากมะเร็งเต้านมที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันตัวเองจากมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตาม การตรวจเต้านมด้วยวิธีดังกล่าวก็มิใช่วิธีที่ดีที่สุดในการสำรวจหามะเร็งเต้านม วิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมที่สามารถเชื่อถือได้คือ การตรวจด้วยวิธีแมมโมกราฟีที่ใช้เทคโนโลยีสูง มีการพบว่าประมาณร้อยละ 25 ของมะเร็งเต้านมจะตรวจพบด้วยวิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ในขณะที่ร้อยละ 35 ของมะเร็งเต้านมจะตรวจพบด้วยวิธีแมมโมกราฟี และร้อยละ 40 ของมะเร็งเต้านมจะตรวจพบด้วยวิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองควบคู่กับวิธีแมมโมกราฟี นอกจากนั้นเนื่องจากในแต่ละเดือนเต้านมของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีรอบเดือน และการเปลี่ยนแปลงในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เต้านมบางคนอาจนิ่มและง่ายต่อการสำรวจ เต้านมอของคุณอาจแข็งตลอดเวลาจนยากแก่การตรวจด้วยตัวเอง ดังนั้นเพื่อความแน่ใจ นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง คุณควรเข้ารับการตรวจด้วยวิธีแมมโมกราฟีอย่างสม่ำเสมอ

มะเร็งเต้านมในหญิงสาว กับหญิงที่มีอายุมากกว่ามีความรุนแรงไม่แตกต่างกัน

TAG:

   
เดิมทีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อว่า มะเร็งเต้านมในหญิงสาวที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี จะมีความรุนแรง และกระจายตัวมากกว่าผู้หญิงที่อายุมากกว่า และผลของการรักษามะเร็งที่ปรากฏในหญิงสาวจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า
           
 แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยจำนวนหนึ่งได้ออกมากล่าวว่าหญิงสาวส่วนใหญ่มีการตอบสนองที่ดีต่อการรักษา และมะเร็งเต้านมที่พวกเธอเป็นก็มิได้รุนแรงมากไปกว่าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าแต่อย่างใด นักวิจัยได้ทำการทดลองเพื่อยืนยันความคิดดังกล่าวด้วยการศึกษาจากบันทึกการรักษาทางการแพทย์ของอาสาสมัครจำนวน 47 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีลงมา ซึ่งเข้ารับการรักษามะเร็งเต้านมในประเทศเยอรมนีในระหว่างปี 1994-2003 

ความสำคัญของการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง

TAG:

วิธีตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ เนื่องจากมันทำให้คุณทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเต้านมของคุณ ด้วยการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ คุณจะทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเต้านมของคุณ และสามารถหาทางแก้ไขได้ทันที่วงที ก่อนที่ความผิดปกติดังกล่าวจะลุกลามจนยากเกินกว่าที่จะเยียวยา

การตัดหน้าอกเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งชนิดใหม่ ?

TAG:

หากเคยเป็นมะเร็งเต้านม การตัดหน้าอกข้างที่เหลือออกไปจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งชนิดใหม่ได้จริงหรือ

นักวิจัยพบว่า หากผู้หญิงคนใดเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน ความเสี่ยงในการที่จะเป็นมะเร็งเต้านมอีกข้างหนึ่งจะมีมากกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อนเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้หญิงคนนั้นมาจากครอบครัวที่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ผู้หญิงบางคนที่กำลังเป็นมะเร็งเต้านมและมาจากครอบครัวที่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมได้ตัดสินใจที่จะตัดเต้านมข้างที่เหลือทิ้ง (Contralateral Mastectomy) ไปเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้น้อยลง อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งบัดนี้เรายังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดและเชื่อถือได้ถึงความเกี่ยวโยงกันระหว่างการผ่าตัดเต้านมส่วนที่เหลือกับการลดลงของความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งชนิดใหม่แต่อย่างใด

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mastectomy

TAG:

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mastectomy
เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ที่การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mastectomy ได้กลายเป็นที่พึ่งหนึ่งเดียวสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความหวังที่จะหายขาดและมีชีวิตรอดจากโรคร้ายนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นการรักษามะเร็งด้วยวิธี Mastectomy ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่รุนแรง และไม่ว่ามะเร็งเต้านมที่ค้นพบนั้นจะไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะแรก การรักษาก็ดูเหมือนว่าจะไม่ลดความรุนแรงลงเลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้น Mastectomy ดูเหมือนว่าจะมีความอ่อนโยนมากขึ้น น่ากลัวน้อยลง

Mastectomy
เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ที่การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mastectomy ได้กลายเป็นที่พึ่งหนึ่งเดียวสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความหวังที่จะหายขาดและมีชีวิตรอดจากโรคร้ายนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นการรักษามะเร็งด้วยวิธี Mastectomy ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่รุนแรง และไม่ว่ามะเร็งเต้านมที่ค้นพบนั้นจะไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะแรก การรักษาก็ดูเหมือนว่าจะไม่ลดความรุนแรงลงเลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้น Mastectomy ดูเหมือนว่าจะมีความอ่อนโยนมากขึ้น น่ากลัวน้อยลง
Mastectomy เป็นวิธีการรักษาที่จะผ่าตัดเอาเต้านมออกไปทั้งหมด แต่จะไม่ผ่าตัดเอา Axillary Lymph nodes หรือกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างใต้เต้านมออกไป ในบางครั้งแพทย์จะต้องผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง ออกไปด้วย เนื่องจากมันอยู่ภายในเนื้อเยื่อเต้านมที่จะต้องถูกผ่าตัดออกไป Mastectomy เป็นวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เป็น Ductal Carcimoma In Situ หรือโรค DCIS รวมไปจนถึงผู้ป่วยที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมโดยการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อเต้านมที่อาจก่อตัวเป็นเนื้อร้ายได้ในภายหลังออกไปให้หมด ในการตัดสินใจเข้ารับการรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mastectomy คุณต้องแน่ใจก่อนว่าคุณเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีนี้ กล่าวคือคุณสามารถเข้ารับการรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mastectomy หาก
- เชื้อมะเร็งที่พบในเต้านมมีการกระจายตัวมากกว่า 1 ที่
- เต้านมของคุณมีขนาดเล็กและการรักษาด้วย Lumpectomy อาจทำให้เต้านมของคุณเสียรูป
- การฉายรังสีภายหลังการผ่าตัดไม่เหมาะกับคุณ และคุณรู้สึกสะดวกใจมากกว่าที่จะรักษาด้วยวิธี Mastectomy
แต่อย่างไรก็ตาม การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mastectomy คุณอาจต้องเข้ารับการฉายรังสีด้วยเช่นกัน หากเนื้องอกที่คุณเป็นมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร หรือมีต่อมน้ำเหลืองอย่างน้อย 4 ต่อม หรือมะเร็งที่คุณเป็นอยู่มีการกระจายตัวมากกว่า 1 แห่งในเต้านม

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง