Grade และ Stage ของมะเร็ง

TAG:

เมื่อเป็น โรคมะเร็ง จะมีการตรวจรายการต่างๆ มากมายทั่วร่างกาย จุดประสงค์เพื่อชี้ชัดว่าเป็นมะเร็งชนิดใด ระยะไหน ต้องรู้แม้กระทั่งความรุนแรงของเซลล์ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษา

ระดับของมะเร็ง (Cancer grade)

     โรคมะเร็งจะถูกระบุว่าเป็นเกรดใดเกรดหนึ่ง โดยดูจากผลตรวจชิ้นเนื้อ เกรดต่ำ หมายถึง การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช้า เกรดสูงการเจริญเติบโตของโรคมะเร็งจะเร็วกว่า 
เกรดต่างๆ ของมะเร็งมีดังนี้
  • เกรด 1 (Grade I)   : เซลล์มะเร็งที่มีลักษณะคล้ายเซลล์ปกติ และไม่ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • เกรด 2 (Grade II)  : เซลล์มะเร็งมีลักษณะไม่เหมือนเซลล์ปกติ และเจริญเติบโตเร็วกว่าเซลล์ปกติ
  • เกรด 3 (Grade III) : เซลล์มะเร็งมีลักษณะผิดปกติ  และอาจเจริญเติบโตแพร่กระจายมากขึ้น

การตรวจ PSA สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก

TAG:

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของมะเร็วที่คร่าชีวิตของผู้ชาย รองจากมะเร็งปอด พบว่าผู้ชาย 1 คน ในทุก 10 คน จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมักไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทั่ว ๆ ไป


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจต่อมลูกหมากของคุณอย่างละเอียด มีตั้งแต่การคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก เพื่อตรวจก้อนหรือขนาดของต่อมลูกหมาก หรือแม้แต่การตรวจทาง Lab โดยหา Prostatic specific antigen (PSA) ซึ่งตรวจได้ใน 2 รูปแบบ คือ Total PSAและ Free  PSA เพื่อค้นพบโรค ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันการลุกลามของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มะเร็งเต้านมกับฮอร์โมน

TAG:

ฮอร์โมน (Hormone)
    ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่สร้างจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ แล้วถูกลำเลียงไปตามระบบหมุนเวียนของโลหิต เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมลักษณะทางเพศ และควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

มะเร็งเต้านมกับฮอร์โมน
     เต้านมเป็นแหล่งที่ใช้ในการสร้างและหลั่งน้ำนมสำหรับเลี้ยงบุตรประกอบด้วย ท่อน้ำนม ก้อนไขมันสะสม และหลอดน้ำเหลืองมากมาย การเจริญเติบโตของเต้านม รวมทั้งการทำงานของเต้านมจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมน และพบต่อมาว่าการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมในผู้หญิง มีส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเช่นกัน ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม คือ

ไขมันกับโรคมะเร็ง

TAG:

กรดไขมัน เป็นหน่วยย่อยของน้ำมัน แบ่งออกเป็น ชนิดใหญ่ คือ
            · กรดไขมันอิ่มตัว (SFA)
            · กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA)
            · กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (MUFA)
     การทำงานของกรดไขมันแต่ละตัวก็มีหน้าที่ต่างกัน โดยทั่วไปร่างกายคนเราต้องการกรดไขมันทั้งสามชนิดให้ครบ  เพราะหากขาดตัวใดตัวหนึ่งไปการทำงานของระบบในร่างกายจะไม่สมบูรณ์  แต่ในผู้ป่วยมะเร็งนั้นต้องทำการจำกัดไขมันที่รับประทาน และเลือกรับประทานกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (MUFA) มีมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดชา การทำงานของกรดไขมันดังกล่าวสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คือ เข้ามาทำให้ลดกระบวนการอักเสบในร่างกายนั่นเอง

โปรตีนกับโรคมะเร็ง

TAG:

โปรตีนกับโรคมะเร็ง
 
โปรตีนและกรดอะมิโน
     คำนี้มักมาคู่กันเสมอ ความจริงคือ โปรตีนคือกรดอะมิโนหลายๆ ตัวมารวมกันกลายเป็นสายโปรตีนขึ้น ดังนั้นกรดอะมิโนจึงเท่ากับโปรตีนนั่นเองแต่เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน ในร่างกายคนเราประกอบไปด้วยกรดอะมิโนมากมายเอามาสร้างเป็นกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน โครงสร้างร่างกาย รวมไปถึงสารสื่อประสาท และระบบเม็ดเลือดทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด 

คาร์โบไฮเดรตกับโรคมะเร็ง

TAG:

 คาร์โบไฮเดรตกับโรคมะเร็ง

อาหารหลักของคนไทยที่มาตั้งแต่โบราณ คือ ข้าว ถ้ามาดูในองค์ประกอบของข้าวนั้นจะเห็นว่าเป็นสารพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก  คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานกับร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว  ผลไม้ จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคส (Simple Sugar) ก่อน แล้วถูกดูดซึมเพื่อร่างกายนำไปเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานเพื่อการทำงาน คาร์โบไฮเดรตจึงเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยการให้กลูโคสแก่เซลล์ต่างๆ นอกจากให้พลังงานแล้วยังมีหน้าที่อื่นๆ อีก เช่น กาแลคโตส เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อประสาท น้ำตาลแลคโตสเป็นส่วนประกอบของนม น้ำตาลไรโบส และดีออกไรโบส เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นสารพันธุกรรม

น้ำตาลกับผู้ป่วยมะเร็ง

TAG:

น้ำตาลกับผู้ป่วยมะเร็ง

คาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาล โดยทั่วไปเราแบ่งออกได้เป็น น้ำตาลเชิงเดี่ยว (Monosaccharides) น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharides) น้ำตาลโอลิโก (Oligosaccharides) และ น้ำตาลหลายโมเลกุล (Polysaccharides)  
 
น้ำตาลเชิงเดี่ยว
ได้แก่ พวกน้ำตาลกลูโคส เป็นสารให้ความหวานปกติที่ร่างกายนำไปใช้พลังงาน น้ำตาลกลุ่มนี้หากมีมากเกินไปในกระแสเลือด ร่างกายต้องพยายามเก็บเข้าสู่เซลล์ ดังนั้นหากได้รับน้ำตาลกลุ่มนี้มากเกินไป ก็เหมือนเป็นการเติมสารอาหารให้กับเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งจึงจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการรับประทานน้ำตาลกลุ่มนี้ 

มะเร็งกล่องเสียง

TAG:

มะเร็งกล่องเสียง


มะเร็งกล่องเสียง พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ด้วยอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเป็น 10 ต่อ 1 โดยจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ  อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยประมาณ 50-65 ปี
โครงสร้างของกล่องเสียง
 
       กล่องเสียงแบ่งย่อยเป็น 3 ส่วน  คือ  Vestibule, Ventricle และ Infraglottic cavity มี ventricular และ vocal folds เป็นขอบเขตส่วนบนและล่างของ ventricle
โดยทั่วไปกล่องเสียงดาดด้วย Respiratory epithelium ยกเว้น ventricular fold ที่ดาดด้วย Stratified squamous non-keratinized epithelium
       ผนังกล่องเสียงพยุงด้วยกระดูกอ่อนชนิด Extrinsic และ Intrinsic muscles และบรรจุต่อมมีท่อชนิดหลั่งและสร้าง mucous และ seromucous secretion ออกมา

มะเร็งช่องปาก

TAG:

มะเร็งช่องปาก

     อวัยวะในช่องปาก  อาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง  ได้แก่  ลิ้น  กระพุ้งแก้ม  ริมฝีปาก  เหงือก  เพดานปาก  พื้นปากใต้ลิ้น ลิ้นไก่  ต่อมทอนซิล  และส่วนบนของลำคอ      มะเร็งในช่องปาก โดยมักพบในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป  และพบน้อยลงหลังจากอายุ 60 ปีไปแล้ว  แต่ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุมีมากขึ้นจึงอาจจะพบมะเร็งในช่องปากในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นได้  และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  อาจจะเป็นเพราะผู้ชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า

มะเร็งหลังโพรงจมูก

TAG:

มะเร็งหลังโพรงจมูก

ลักษณะโครงสร้าง
     โครงสร้างโพรงจมูก ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ บริเวณที่เกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งส่วนนี้จะมีเนื้อประสานรองรับและบรรจุหลอดเลือดจำนวนมาก ส่วนที่ 2 เป็นบริเวณที่เกี่ยวกับประสาทพิเศษดมกลิ่น ส่วนนี้จะมีเนื้อผิวที่หนาประกอบด้วยเซลล์อย่างน้อย 3 ชนิด รองรับด้วยชั้นเนื้อเยื่อที่บรรจุหลอดเลือดฝอยและต่อมสร้างและหลั่งน้ำเมือกหรือสิ่งคัดหลั่ง จำนวนมากเพื่อมาเคลือบบนเนื้อผิว

มะเร็งต่อมลูกหมาก

TAG:

มะเร็งต่อมลูกหมาก

     ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย  อยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะ  ส่วนต้น ต่อมลูกหมากมีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดมีฐานกว้าง 4 เซนติเมตร หนา 2 เซนติเมตร และสูง 3 เซนติเมตร  น้ำหนักในสภาวะปกติจะหนักประมาณ 20 กรัม  มีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำหล่อลื่น  และหล่อเลี้ยงตัวอสุจิขณะที่มีการหลั่งของน้ำอสุจิ

อาการแสดงของมะเร็งต่อมลูกหมาก     ในระยะที่มะเร็งเริ่มเกิดมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ต่อเมื่อมะเร็งเจริญเติบโตใหญ่ขึ้น  จะกดและเบียดท่อปัสสาวะส่วนต้นทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ  ในระยะนี้ผู้ป่วยเริ่มจะมีการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติต่อมาเริ่มปัสสาวะลำบากขึ้น  ต้องเบ่งมากขึ้น  บางคนปัสสาวะไม่ออก  ปัสสาวะเป็นเลือด  หรืออาจมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  บางคนอาจมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิในขณะร่วมเพศ

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง