น้ำตาลกับผู้ป่วยมะเร็ง

TAG:

น้ำตาลกับผู้ป่วยมะเร็ง

คาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาล โดยทั่วไปเราแบ่งออกได้เป็น น้ำตาลเชิงเดี่ยว (Monosaccharides) น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharides) น้ำตาลโอลิโก (Oligosaccharides) และ น้ำตาลหลายโมเลกุล (Polysaccharides)  
 
น้ำตาลเชิงเดี่ยว
ได้แก่ พวกน้ำตาลกลูโคส เป็นสารให้ความหวานปกติที่ร่างกายนำไปใช้พลังงาน น้ำตาลกลุ่มนี้หากมีมากเกินไปในกระแสเลือด ร่างกายต้องพยายามเก็บเข้าสู่เซลล์ ดังนั้นหากได้รับน้ำตาลกลุ่มนี้มากเกินไป ก็เหมือนเป็นการเติมสารอาหารให้กับเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งจึงจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการรับประทานน้ำตาลกลุ่มนี้ 
น้ำตาลตัวนี้ไม่มีผลเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด หากแต่ให้พลังงาน โดยปกติร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลดังกล่าวไปใช้ได้ทันที จำต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ตับก่อน ระหว่างรับการรักษาหากผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องท้องเสีย และการทำงานของตับมากเกินไป ก็ควรงดการใช้น้ำตาลเชิงเดี่ยว 
ในอาหารปกติไม่พบการใช้น้ำตาลรูปแบบนี้ในการปรุงประกอบอาหารมากนัก แต่มักพบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล  และขนมเบเกอร์รี่ เพราะเป็นน้ำตาลที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลกลุ่มอื่นมาก  นอกจากนี้ยังพบได้ในผลไม้รสหวานจัด
น้ำตาลโมเลกุลคู่
     ได้แก่ น้ำตาลซูโครส น้ำตาลในกลุ่มนี้จะพบได้บ่อยกว่าตัวอื่น เพราะมัน คือ น้ำตาลทรายที่เราใช้ประกอบอาหารนั่นเอง จากข้างต้นทราบกันแล้วว่าการได้รับน้ำตาลมากเกินไปสามารถเติมพลังงานให้กับเซลล์มะเร็งได้ แต่เราก็ไม่สามารถงดน้ำตาลได้ 100% เพราะร่างกายปกติก็ยังจำเป็นต้องได้รับพลังงานอยู่เสมอ ปริมาณน้ำตาลที่แนะนำควรจำกัดปริมาณอยู่ที่ 5 ช้อนชาต่อวัน ไม่ควรเกินนี้ ส่วนการได้รับน้ำตาลนมพวกแลกโตสนั้น ถ้ามีปัญหาเรื่องการย่อยนมและท้องอืด ท้องเสียอยู่ ผู้ป่วยมะเร็งควรต้องพิจารณางดน้ำตาลแลคโตสหรือน้ำตาลนมด้วย เพราะจะทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง
 
น้ำตาลหลายโมเลกุลและน้ำตาลโอลิโก 
น้ำตาลพวกนี้ ได้แก่ พวกข้าวแป้งที่รับประทานกันอยู่เป็นประจำทุกวัน  ผู้ป่วยไม่สามารถงดอาหารกลุ่มข้าวแป้งได้ เพราะยังต้องการพลังงานในการดำรงชีวิตอยู่เสมอ  เมื่อใดที่ผู้ป่วยได้รับคาร์โบไฮเดรตพวกนี้น้อยกว่า 150 กรัมต่อวัน จะทำให้ร่างกายปรับตัวมาใช้โปรตีนในร่างกาย เริ่มเกิดกระบวนการสลายกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่ออ่อนแรง และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง 
 
ผู้ป่วยควรได้รับคาร์โบไฮเดรตกลุ่มข้าวแป้งเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายทำงานอย่างสมดุล  การพิจารณาเลือกแป้งที่รับประทานควรเลือกแป้งที่มีใยอาหารร่วมด้วย เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ธัญพืช  ขนมปัง เป็นต้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยมีระดับเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบินต่ำลงมากกว่าปกติ ให้หยุดการรับประทานธัญพืชก่อน แล้วหันกลับมารับประทานข้าวขาว จนกระทั่งระดับเม็ดเลือดแดงกลับสู่ภาวะปกติค่อยหันมารับประทานข้าวกล้องที่เป็นแหล่งของใยอาหารใหม่อีกครั้ง 
 
ส่วนการได้รับกลุ่มน้ำตาล Oligosaccharide เช่น พวกลูกพรุน หรือใยอาหารโมเลกุลสั้นๆ พวกนี้จะเป็นประโยชน์ในการปรับสมดุลลำไส้ โดยจะเข้าไปเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกายที่อยู่ประจำลำไส้ใหญ่ ช่วยการขับถ่ายและกำจัดสารก่อมะเร็งให้ไม่เข้าสู่ร่างกาย แต่เช่นเดียวกันเมื่อใดที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย หรือท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้มาก ไม่ควรได้รับใยอาหารดังกล่าว เพราะถึงแม้จะปรับสมดุลลำไส้ แต่ก็เป็นภาระให้ร่างกายย่อยยากกว่าอาหารชนิดอื่นซึ่งก็ส่งเสริมให้เกิดแก๊สได้

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง