มะเร็งเต้านม: ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งเต้านม (ตอนที่ 2)

TAG:


มะเร็งเต้านม: ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งเต้านม (ตอนที่ 2)

หลังจากที่เราได้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งเต้านมในตอนที่ 1 ไปแล้วนั้น ต่อไปจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งเต้านมในตอนที่ 2 ดังนี้




การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เต้านม

การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เต้านมอาจทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะพบได้ก็ต่อเมื่อมีการตัดเซลล์เต้านมไปตรวจด้วยกล้องไมโครสโคป หรือกล้องจุลทรรศน์ การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เต้านมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมี 2 อย่างคือ Antypical Ductal Hyperplasia ซึ่งเป็นการเติบโตของเซลล์ของท่อในเต้านมที่มากเกินไป.และ Lobular Carcinoma In Situ ซึ่งเป็นการเติบโตที่ไม่สามารถควบคุมได้ของเซลล์ที่มีลักษณะเป็นกลีบหรือพูที่อยู่ในเต้านม ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม

การสูบบุหรี่

แม้ว่าการสูบบุหรี่จะได้รับการยืนยันว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่นักวิจัยพบว่าการสูบบุหรี่ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งจากเต้านมไปยังปอดมากขึ้น นักวิจัยเชื่อว่าการสูบบุหรี่จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในปอดให้เอื้ออำนวยต่อการกระจายตัวของเชื้อมะเร็งเต้านม ทำให้เชื้อดังกล่าวเติบโตขึ้นจนทำลายปอดในที่สุด คำกล่าวของแพทย์และนักวิจัยนี้เป็นการยืนยันให้เห็นถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพ ซึ่งทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมควรที่จะหยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร

โภชนาการ

อาหารการกินเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น รายงานจำนวนมากระบุว่ามะเร็งร้อยละ 30 เกิดจากการมีโภชนาการที่ไม่ดี หรือการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และมีการศึกษาทางการแพทย์หลายชิ้นรายงานถึงการเกี่ยวข้องกันระหว่างการกินอาหารไขมันสูง กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามแม้ว่ารายงานทางการแพทย์จำนวนมากจะมีความเห็นที่คล้ายคลึงกันแต่เรายังคงไม่ทราบแน่ชัดว่าอาหารมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้จริงหรือไม่ และในขณะที่นักวิจัยกำลังทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์นี้อย่างเคร่งเครียด

อย่างไรก็ตาม,แม้ว่าเราจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านมมากน้อยเพียงใด และอาหารไขมันสูงมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัดนั้นก็คือ การกินอาหารไขมันสูงไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ และการลดปริมาณอาหารไขมันสูงให้น้อยลงจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยจะช่วยลด Bad Cholesterol or Low-density Lipoproteins ให้น้อยลง ในขณะที่ช่วยเพิ่ม Good Cholesteorl or High-density Lipoproteins ให้มากขึ้น ช่วยรักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย นอกจากนี้เรายังพบอีกว่าความอ้วนหรือการมีน้ำหนักที่เกินกำหนด เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมีมากขึ้น

การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนติดต่อกันเป็นเวลานาน

การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมให้มากขึ้นฮอร์โมนเอสโตรเจนทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่คุณรับเข้าไปในร่างกายในรูปแบบของการเสริมฮอร์โมนจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านมทั้งที่เป็นเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งเต้านมให้มีการเติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนติดต่อกันเป็นเวลานานจนนำไปสู่การเป็นมะเร็งเต้านมในที่สุด ได้แก่,

-           การเริ่มมี Menstruation เมื่ออายุยังน้อยหรือผ่านช่วงหมด Menopause เมื่ออายุมาก และการคลอดก่อนกำหนด หรือตั้งครรภ์ครบเดือนตามปกติหลังอายุ 30 ปี

-           การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอก เช่นการกินเนื้อวัวหรือเนื้อควายที่มีการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการเพิ่มขนาดหรือการสลายตัวของยาฆ่าแมลงจำพวก DDT  ซึ่งจะมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้น

-           มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อสัปดาห์ ซึ่งจะทำให้ความสามารถของตับในการควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดลดลง

-           การมีน้ำหนักมากเกินไป ทำให้การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนนอกรังไข่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายโดยรวมมากขึ้นไปด้วย

การรับฮอร์โมนเสริมในช่วงหมดประจำเดือนโดยการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว หรือใช้ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนควบคู่กันเป็นเวลามากกว่า 5 ปีจะทำให้ความเสี่ยต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-40 แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงที่เข้ารับฮอร์โมนเสริมจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในตอนช่วงต้น ๆ และสามารถรักษาให้หายได้

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง