โรคมะเร็งเต้านม: ผลกระทบของสารเคมีที่มีต่อมะเร็งเต้านม

TAG:


โรคมะเร็งเต้านม: ผลกระทบของสารเคมีที่มีต่อมะเร็งเต้านม

ยาดับกลิ่นตัว, ตัวการของมะเร็งเต้านมหรือเป็นแค่แพะรับบาป

Deodorant เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาเป็นเวลาหลายปี และเช่นเดียวกันผลเสียที่ควบคู่มากลับความนิยมในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ดูเหมือนวาจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ข่าวลือเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องกันระหว่าผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นตัวและสารลดการขับเหงือบริเวณใต้รักแร้กับมะเร็งเต้านมก็เริ่มแพร่กระจายมากขั้นเป็นเงาตามตัว

จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้มีการนำพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาดับกลิ่นตัวและนำมาใช้ในการถนอมอาหาร ยืดอายุยารักษาโรคและเครื่องสำอางมาทดสอบในหลอดแก้วและกับสัตว์ทดลองในห้องทดลอง. นักวิทยาศาสตร์พบว่าพาราเบนส์ทำหนาที่คล้ายฮฮร์โมนเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมในหลอดทดลองและกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มดลูกในหนูทดลอง อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ไม่ปักในเชื่อว่า พาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นตัวนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม เนื่องจากการทดลองเพียง 1 ชิ้นไม่อาจระบุได้อย่างแน่ชัดว่าการใช้ยาดับกลิ่นตัวจะเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ จึงยังคงมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยที่มีต่อความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงกับการใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นตัวอีกต่อไป

เพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยดังกล่าวมีความพยายามทำการทดลองใหม่อีกครั้ง ในการทดลองครั้งใหม่นักวิทยาศาสตร์ได้นำเนื้อเยื่อจากเต้านมของอาสาสมัครผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 20 ตัวอย่างมาตรวจสอบในห้องทดลอง เพื่อพิสูจน์ว่าเนื้อเยื่อตัวอย่างดังกล่าวมีสารพาราเบนส์สะสมอยู่หรือไม่โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Chromatrography และ Spectrometry ผลการทดลองพบว่ามีสารพาราเบนส์ 6 ชนิดสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อเต้านมดังกล่าว โดยสารพาราเบนส์ทั้ง 6 ชนิดมีระดับความเข้มข้นเท่ากับสารพาราเบนส์ที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเต้านมมีการเจริญเติบโตในหลอดทดลองของการทดลองคราวที่แล้ว
แต่ด้วยข้อจำกัดและจุดบกพร่องของการทดลองชิ้นนี้ที่มีอยู่อย่างมากมาย เช่น ไม่มีการตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่าเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมเหล่านี้มาจากอาสาสมัครที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่เป็นประจำ หรือมาจากอาสาสมัครที่ใช้ยาดับกลิ่นตัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารพาราเบนส์เป็นประจำอยู่แล้วหรือไม่ ไม่มีการตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น ลักษณะพันธุกรรม หรือประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมของอาสาสมัครก่อนเข้าทำการทดลองไม่มีการวัดระดับความเข้มข้นของสารพาราเบนส์ในเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆว่ามีความเข้มข้นของสารพาราเบนส์เท่ากับเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมหรือไม่ เป็นต้น

ไม่เพียงเท่านั้น, การทดลองชิ้นนี้ยังไม่อาจตอบคำถามสำคัญ ๆ ที่อาจเชื่อมโยงความสัมพันธุ์ระหว่างสารพาราเบนส์ในยาดับกลิ่นตัวกับโรคมะเร็งเต้านม เช่น มันไม่สามารถบอกได้ว่าสารพาราเบนส์ที่พบในเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมของอาสาสมัครนั้นมาจากที่ใด เป็นไปได้หรือไม่ที่สารพาราเบนส์ที่พบนั้นอาจมาจากอาหารหรือยารักษาโรค. ไม่ได้มาจากยาดับกลิ่นตัวแต่เพียงอย่างเดียว เราไม่อาจบอกได้ว่าอาสาสมัครทั้งหมดใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นตัวที่มีส่วนผสมของสารพาราเบนส์หรือไม่ เราไม่ทราบว่าหากร่างกายเก็บสารพาราเบนส์ไว้ในเนื้อเยื่อเต้านมมันจะตกค้างอยู่นานเท่าใด มีการสะสมตัวหรือไม่หรือจะถูกขจัดออกนอกร่างกายโดยกระบวนการขับสารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

นอกจากนั้น เรายังไม่ทราบว่าเราสามารถพบสารพาราเบนส์ในเนื้อเยื่อเต้านมได้เท่านั้นหรือสามารถพบได้ในเนื้อเยื่อที่มาจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ และความเข้มข้นของสารพาราเบนสที่เราพบในเนื้อเยื่อของเต้านมที่เป็นมะเร็งอยู่ในระดับเดียวกับเนื้อเยื่อที่มาจากเต้านมปกติหรือไม่ เป็นต้น ดังนั้นแทนที่การทดลองชิ้นนี้จะช่วยไขความกระจ่างให้กับสมมติฐานกลับสร้างความคลุมเครือและก่อให้เกิดคำถามต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ จากผลการทดลองทั้งหมดเราจึงมิอาจสรุปได้อย่างแน่ชัดว่า ยาดับกลิ่นตัวรวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกายที่ใช้ใต้วงแขนเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม


 

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง