โรคมะเร็งเต้านม: สารระงับเหงื่อ

TAG:

โรคมะเร็งเต้านม: สารระงับเหงื่อ

ภัยร้ายที่มาพร้อมกับความแห้งสบาย

ไม่ต่างจากยาดับกลิ่นตัวและผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นใต้รักแร้อื่นๆ ด้วยคุณสมบัติในการต้านการขับเหงื่อของสารลดการขับเหงื่อ (Antiperspirant) ที่ผสมอยู่ในยาดับกลิ่นตัวบางยี่ห้อหลายคนสงสัยว่า เมื่อรักแร้ไม่สามารถระบายเหงื่อซึ่งเป็นของเสียออกมาได้ ก็เท่ากับว่าของเสียและสารพิษที่ร่างกายพยายามระบายออกมาต้องคั่งค้างอยู่ภายใน การคั่งค้างของเสียและสารพิษดังกล่าว อาจนำมาซึ่งปัญหาได้ในเวลาต่อมาก และเนื่องจากยาดับกลิ่นตัวมีส่วนผสมของสารเคมีทีมีคุณสมบัติในการขจัดกลิ่นและลดความอับชื้นและสารกันบูดที่ใช้เพื่อยืดอายุของส่วนผสมทั้งหมดให้ยาวนานขึ้น และรักแร้อยู่ใกล้กับเต้านมจึงมีความสงสัยว่าสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจซึมซาบเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังและไปยังหน้าอกได้ และนั่นอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งเต้านมในที่สุด
เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะวิจัยจาก Fred Hutchinson Cancer Research Center ในซีแอตเติล ได้ทำการวิจัยถึงความเกี่ยวข้องระหว่างความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมกับการใช้สารระงับเหงื่อใต้วงแขนขึ้น ด้วยการนำอาสาสมัครผู้หญิงจำนวน 1,600 คน ที่มีอายุระหว่าง 20-74 ปี ซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่ในรัฐวอซิงตัน ฝั่งตะวันตกโดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม อาสาสมัครกลุ่มที่ 1 มีจำนวน 810 คน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ในขณะที่อาสาสมัครกลุ่มที่ 2 มีจำนวน 793 คน มีร่างกายปกติ คณะวิจัยได้ทำการสัมภาษณ์อาสาสมัครเป็นรายบุคคลถึงพฤติกรรมในการใช้สารระงับเหงื่อของพวกเขาในแต่ละวัน นักวิจัยพบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่ใช้สารระงับเหงื่อเป็นประจำ โดยอาสาสมัครมากกว่าร้อยละ 90 ของทั้งสองกลุ่มกำจัดขนใต้วงแขนเป็นประจำ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีโกนด้วยใบมีดมากกว่า 1 ใน 3 ของอาสาสมัครของทั้ง 2 กลุ่มจะทาสารระงับเหงื่อภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการโกนขนใต้รักแร้ไปแล้ว
เมื่อคณะวิจัยทำการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากอาสาสมัครทั้ง 2  กลุ่มกลับไม่พบความเกี่ยวข้องกันระหว่างการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมที่เกิดจากการใช้สารระงับเหงื่ออย่างเป็นประจำ การใช้สารระงับเหงื่อร่วมกับการโดนขนด้วยใบมีดโกนหรือการใช้สารระงับเหงื่อภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการโกนขนด้วยใบมีดโกนแต่อย่างใด

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง