โรคมะเร็งเต้านม: วิธีลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมของบุคคลทั่วไป ตอนที่ 4

TAG:

โรคมะเร็งเต้านม: วิธีลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมของบุคคลทั่วไป ตอนที่ 4

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

นักวิจัยพบว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งเต้านม หรือการเป็นมะเร็งเต้านมชนิดใหม่ให้น้อยลง นักวิจัยชี้ว่า การออกแรงทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอหลังจากการเป็นมะเร็งเต้านมจะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเดินด้วยความเร็วที่คงที่เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์


โรคมะเร็งเต้านม: นักวิจัยยังพบอีกว่า การออกกำลังกายไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ต่อโรคมะเร็งเต้านมเท่านั้น แต่มันยังช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย เพิ่มความนับถือในตัวเอง ช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีพละกำลัง นอกจากนี้ยังมีการพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามะเร็งด้วยการใช้ยาหรือ สารเคมี หรือการบำบัดด้วยฮอร์โมน มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินของพวกเธอลงได้ นักวิจัยจึงแนะนำว่า เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมชนิดใหม่ และเพิ่มคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อนควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอ

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการออกกำลังกายจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายโดยรวม แต่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เพิ่มเข้ารับการผ่าตัดหรือเข้ารับการบำบัดทางการแพทย์ การออกกำลังกายอาจกลายเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากพวกเขาจะมีอาการอ่อนเพลีย หรือมีอาการข้างเคียงอันเนื่องมาจากกระบวนการบำบัด นักวิจัยจึงแนะนำให้ผู้ป่วยออกแรงเพียงเล็กน้อย เช่นการเดินช้า ๆ การเดินขึ้นทางลาด หรือการเดินเล่นไปตามถนนในหมู่บ้านเป็นเวลา 15 นาทีต่อวัน ก่อนที่จะค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและเพิ่มแรงที่ออกให้มากขึ้นเมื่ออาการเริ่มดีขึ้น และให้ออกกำลังกายเบา ๆ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมงตามปกติ เมื่อพบว่าร่างกายกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิม

วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมได้แก่ การทำโยคะ ไทชิ รำมวยจีน ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่อาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกายที่นุ่มนวล ไม่สร้างแรงกระแทกที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อต่อหรืออวัยวะส่วนอื่นจนก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ และไม่ต้องออกแรงมากจนเกิดอาการเหนื่อยหอบ ทำให้ร่ายกายได้รับออกซิเจนในปริมาณมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ปอดมีการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้มีโอกาสยืดและขยายตัว ทำให้หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเติมประสิทธิภาพในขณะที่ไม่ตึงเครียดจนเกินไป


บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง