โรคมะเร็งเต้านม: ยาแอสไพริน กับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

TAG:

โรคมะเร็งเต้านม: ยาแอสไพริน กับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก มีงานวิจัยหลายชิ้นออกมากล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ยาแอสไพริน และยาต้านอาการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมให้น้อยลงได้
ยาแอสไพรินหรือกรดซาลิไซลิก มีประโยชน์ด้านการรักษาโรคในหลาย ๆ ด้าน หนึ่งในประโยชน์ที่มันมีมากที่สุดคือ การช่วยลดปริมาณของกลุ่มฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินส์ ที่ร่างกายสร้างขึ้น ฮอร์โมนกลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนอื่น ๆ รวมไปจนถึงเซลล์ และเนื้อเยื่อ ส่วนยา NSAIDs เป็นยาลดไข้ ลดปวด ลดอาการบวมแดงอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ. เหตุที่ยาพวกนี้ถูกเรียกว่า Non-steroidal เนื่องจากมีโครงสร้างแตกต่างจากยาสเตียรอยด์ทั่วไป ดังนั้นพวกมันจึงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนอย่างยาสเตียรอยด์

งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้นในเดือน เมษายน ปี 2003 เป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้ยาแอสไพรินกับอาสาสมัครจำนวน 80,000 คน นักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่กินยาแอสไพรินและยาจำพวก NSAIDs เป็นประจำจะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ นอกจากนี้ ผลการวิจัยที่ทำขึ้นในเดือน เมษายน 2004 พบว่าอาสาสมัครหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนจำนวน 3,000 คนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยลงเมื่อกินยาแอสไพรินเป็นประจำ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทดลองทั้งสองชิ้นนี้มีข้อบกพร่องบางประการที่ทำให้ผลของการทดลองที่ได้ไม่อาจเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างได้เท่าที่ควร
เพื่อเป็นการไขความกระจ่างให้มีความสงสัยที่มีต่อคุณประโยชน์ของยาแอสไพริน ต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, มหาวิทยาลัยไมอามี และมหาวิทยาลัยฟลอริดา แอตแลนติก ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากการกินยาแอสไพรินต่อโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งเต้านม โดยทำการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี กับอาสาสมัครหญิงชาวอเมริกันจากทั่วประเทศจำนวน 39,876 คนที่มีอายุอย่างน้อย 45 ปี และไม่เคยเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคเรื้อรังใด ๆ มาก่อนและไม่มีปฏิกิริยาต่อยาแอสไพริน และไม่ได้กินยาแอสไพรินหรือยา NSAIDs มากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์   ก่อนเข้าร่วมการทดลองอาสาสมัครจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งจะได้รับยาแอสไพริน 100 มิลลิกรัมวันเว้นวัน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจะได้รับยาหลอกแทนยาแอสไพรินของจริง อาสาสมัครเหล่านั้นจะได้รับยาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี นับจากเดือนเมษายน 193 ไปจนถึงเดือน มกราคม 1996

เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง นักวิจัยจะติดตามผลกับอาสาสมัครเหล่านั้น โดยอาสาสมัครจะต้องกรอกแบบสอบถามผ่านทางอีเมล์เกี่ยวกับสุขภาพโดยรวม รวมไปจนถึงสัญญาณอันตรายของมะเร็งเต้านมทุก ๆ 6 เดือนในช่วง 1 ปีแรก หลังจากนั้นจะเป็นปีละครั้งเป็นเวลาทั้งสินอีก 10 ปี

ในช่วงเวลา 10 ปีของการติดตามผล นักวิจัยพบว่าอาสาสมัครจำนวน 2,865 คนจะพบสัญญาณของมะเร็งเต้านม โดยร้อยละ 43 หรือ 1,230 คนของอาสาสมัครเหล่านี้จะเป็นมะเร็งเต้านม โดยอาสาสมัครจำนวน 608 คนจะมาจากลุ่มที่ได้รับยาแอสไพรินและอาสาสมัคร 622 คนจะมาจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก นักวิจัยจึงลงความเห็นว่าการกินยาแอสไพรินที่มีความเข้มข้นต่ำวันเว้นวันจะไม่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดใด ๆ รวมไปจึงถึงมะเร็งเต้านมได้แต่อย่างใด ซึ่งขัดกับผลการทดลองที่เคยทำก่อนหน้านี้ที่ว่า ยาแอสไพรินมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกินยาแอสไพริน กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในตอนนี้ก็คือการกินยาแอสไพรินไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อมะเร็งเต้านมเลยแม้แต่น้อย. นอกจากนั้นเรายังพบว่าการกินยาแอสไพรินเป็นประจำยังก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายด้วยเช่นกัน เพราะการใช้ยาแอสไพรินบ่อยครั้งจนเกินไปจะเป็นสาเหตุของการตกเลือด, กระเพาะเป็นแผลพุพอง,ตับและไตได้รับความเสียหาย รวมไปจนถึงอาการผิดปกติทางสุขภาพต่าง ๆ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจกินยาแอสไพรินบ่อยครั้งแม้ว่าจะในปริมาณที่น้อยการปรึกษาแพทย์เอความปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรละเลย


บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง