มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)

TAG:

 มะเร็งรังไข่ 

รังไข่มีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ อยู่สองข้าง ข้างซ้ายขวาของโพรงมดลูก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและไข่ ชนิดของมะเร็งรังไข่แบ่งตามตำแหน่งเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งได้ 3 กลุ่ม คือ
     - Epithelial Tumors : มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ จุดเริ่มต้นที่เซลล์เยื่อบุผิวรังไข่และช่องท้อง เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 90% ของมะเร็งรังไข่
     - Germ Cell Tumors : มะเร็งฟองไข่ จุดเริ่มต้นของก้อนเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิด พบได้ร้อยละ 5-10 ของมะเร็งรังไข่มักพบในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี 
     - Sex Cord-Stromal Tumors : มะเร็งเนื้อรังไข่ จุดเริ่มต้นที่เนื้อเยื่อเกี่ยวกันของรังไข่ ซึ่งผลิตฮอร์โมนเพศหญิง โอกาสพบน้อยมาก

     ทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นยังสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ของร่างกายที่เรียกว่าเป็นมะเร็งรังไข่ระยะแพร่กระจาย

มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer )

TAG:

 มะเร็งตับอ่อน

ตับอ่อนเป็นอวัยวะขนาดเล็กยาวประมาณ 6 นิ้ว อยู่ลึกภายในช่องท้องระหว่างกระเพาะอาหารและม้าม ติดกับลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) มีบทบาทหลักในกระบวนการย่อยอาหาร โดยตับอ่อนจะหลั่งเอนไซม์ออกมาเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น แล้วร่วมกับน้ำย่อยในลำไส้เล็ก ในการย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตอินซูลินและกลูคากอนซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับอ่อน
  1.ในคนที่สูบบุหรี่จัด มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับอ่อนมากกว่า โดยพบว่า 1 ใน 5 (20%) ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนเป็นคนเคยสูบบุหรี่
  2.ในคนที่มีครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อน มีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนได้สูงกว่า 

มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal cancer )

TAG:

มะเร็งหลอดอาหาร
หลอดอาหารเป็นท่อกลวงทำหน้าที่ส่งผ่านอาหารและน้ำจากลำคอถึงกระเพาะอาหาร ผนังหลอดอาหารมีเนื้อเยื่อจำนวนมาก ประกอบด้วย เยื่อเมือก กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มะเร็งหลอดอาหารเริ่มจากเยื่อบุภายในหลอดอาหารกระจายออกมาด้านนอก มะเร็งหลอดอาหาร มักพบในผู้ใหญ่ พบบ่อยเป็นอันดับ 7 ทั่วโลก และพบมากในประเทศที่กำลังพัฒนา พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมากกว่าร้อยละ 90 พบในช่วงอายุ 55-65 ปี

มะเร็งลำไส้เล็ก

TAG:

มะเร็งลำไส้เล็ก
โครงสร้างลำไส้เล็ก

     ลำไส้เล็ก  เป็นท่อกล้ามเนื้อยาวประมาณ 6-10 เมตร (20-21 ฟุต) เริ่มจากปลายสุดของกระเพาะอาหารลงไปจนถึงลำไส้ส่วนต้น  ลำไส้เล็กสามารถสร้างน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหารให้สมบูรณ์  และเป็นแหล่งที่ดูดซึมอาหารมากที่สุด

ลำไส้เล็ก (Small intestine) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) ส่วนกลาง (Jejurium) และส่วนปลาย (lleum) ดังรายละเอียดดังนี้คือ

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง