มะเร็งกล่องเสียง

TAG:

มะเร็งกล่องเสียง


มะเร็งกล่องเสียง พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ด้วยอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเป็น 10 ต่อ 1 โดยจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ  อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยประมาณ 50-65 ปี
โครงสร้างของกล่องเสียง
 
       กล่องเสียงแบ่งย่อยเป็น 3 ส่วน  คือ  Vestibule, Ventricle และ Infraglottic cavity มี ventricular และ vocal folds เป็นขอบเขตส่วนบนและล่างของ ventricle
โดยทั่วไปกล่องเสียงดาดด้วย Respiratory epithelium ยกเว้น ventricular fold ที่ดาดด้วย Stratified squamous non-keratinized epithelium
       ผนังกล่องเสียงพยุงด้วยกระดูกอ่อนชนิด Extrinsic และ Intrinsic muscles และบรรจุต่อมมีท่อชนิดหลั่งและสร้าง mucous และ seromucous secretion ออกมา
ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง
พบว่าสาเหตุสำคัญที่บ่งชี้ได้ชัดเจน คือ การสูบบุหรี่
จัด และการดื่มสุราเป็นประจำ
อาการแสดง
  • เสียงแหบเรื้อรัง
  • กลืนอาหารลำบาก  สำลัก
  • มีเสมหะปนเลือด
  • หายใจขัด  ลำบาก
  • มีก้อนโตที่คอ
  • เจ็บคอเรื้อรัง  มีความรู้สึกเหมือนก้างติดคอ

       ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเสียงแหบ โดยมักไม่มีอาการเจ็บคอ ซึ่งหากรอยโรคอยู่ที่ตำแหน่งของสายเสียงจะแสดงอาการนี้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ทำให้รักษาให้หายขาดได้ แต่หากเป็นตำแหน่งอื่นของกล่องเสียง อาการเสียงแหบมักจะแสดงออกในระยะที่ลุกลามแล้ว และบางครั้งอาจมีอาการกลืนลำบากร่วมด้วย
การวินิจฉัย
  1. การใช้กระจกส่องลงไปตรวจที่กล่องเสียง เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอกบริเวณกล่องเสียงหรือไม่
  2. การส่องกล้อง และการตัดชื้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิสภาพ
  3. การตรวจเลือด
  4. การเอ็กซเรย์
  5. การตรวจพิเศษอื่นๆ
การรักษามะเร็งกล่องเสียง
       
ในระยะเริ่มแรก
จะใช้การฉายรังสีเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะให้ผลการรักษาได้เท่าเทียมกับการผ่าตัด แต่ยังสามารถรักษากล่องเสียงไว้ได้ ทำให้ผู้ป่วยยังคงพูดได้เป็นปกติ 
       ในระยะลุกลาม จะใช้การรักษาร่วมระหว่างการผ่าตัดและฉายรังสี 

       ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางวิธีการรักษา โดยประเมินจากความรุนแรงของโรค ระยะดำเนินโรคของมะเร็ง และการลุกลามแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาวะผู้ป่วย เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติและป้องกันมะเร็งกล่องเสียง
  • งดเว้นการดื่มสุราและสูบบุหรี่
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง  อย่างปล่อยให้เป็นหวัดหรือเจ็บคอเรื้อรังเป็นประจำ
  • ถ้ามีอาการเจ็บคอเรื้อรัง รู้สึกเหมือนมีก้างปลาติดคออยู่เกือบตลอดเวลาหรือมีเสียงแหบ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด
  • เมื่อมีอาการเสียงแหบเกินกว่า 2 สัปดาห์  โดยเฉพาะเมื่อไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย  ได้แก่  อาการไอ  และเจ็บคอ  ควรพบแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับหู คอ จมูก หรือแพทย์ผู้ชำนาญทางโรคมะเร็ง เพื่อส่องตรวจดูในคอบริเวณกล่องเสียง ไม่ใช่เพียงการตรวจคอตามปกติ

บทความมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้อง